วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

แนวทางการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

ซีล (Seale, 1998, pp.1–2) เสนอแนวคิดในการฝึกนิสัยที่ดีของการคิด โดยการจัดกิจกรรมจุดเน้น ดังนี้
1. จุดเน้นที่ประสบการณ์
จะเริ่มต้นด้วยการมีประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม หลังจากนั้นผู้เรียนจะทำการสังเกตและพิจารณาและสร้างกรอบความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งนั้น ผู้ปฏิบัติจะถูกกระตุ้นให้คิดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่เสร็จสิ้นลงหรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นรวมทั้งการประเมินจุดแข็งจุดอ่อน และการอธิบายเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงาน
2. จุดเน้นที่การสร้างกรอบใหม่
วงจรการคิดประกอบด้วย 3 ระยะประกอบด้วย การกำหนดปัญหา การสร้างกรอบปัญหาใหม่และการแก้ไขปัญหา การกำหนดปัญหากระทำโดยการวิเคราะห์สถานการณ์หรือเรื่องราว ส่วนการสร้างกรอบปัญหาใหม่ มักเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบปัญหาซื้อโดยใช้หลักการตามทฤษฎี 1 ทฤษฎี หรือมากกว่าและนั้นตอนสุดท้าย จากข้อสรุปใหม่จากการสร้างกรอบปัญหาก็จะถูกนำไปคิดเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาใหม่
3. จุดเน้นที่เป้าหมาย และข้อมูลย้อนกลับ
การคิดมักเกิดขึ้นในระหว่างวงจรของข้อมูลย้อนกลับ การกระทำและเป้าหมายในขณะที่ผู้เรียนได้เชื่อมโยงข้อมูลย้อนกลับกับการกระทำของตนเองต่อเป้าหมาย การเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมาย การกระทำและข้อมูลย้อนกลับจะถูกกระทำเมื่อผู้เรียนสามารถคิดถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเหล่านี้
การคิดอย่างมีวิจารณญาณจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องมีการฝึกนิสัยในการคิด ซึ่งประกอบด้วย ความกระตือรือร้น ความคิดเห็นที่เกิดขึ้นเองโดยบุคคลนั้นและ การจัดลำดับการคิด (Seale, 1998, pp.1 – 2)
1. ความกระตือรือร้นหรือความอยากรู้อยากเห็น
จากแนวคิดของรักไกโร (Ruggiero, 1988, pp.81 – 88) ได้เสนอแนะว่าความกระตือรือร้นมีความสำคัญสำหรับทุกขั้นตอนของการคิด โดยเฉพาะในขึ้นตอนแรก คือการสร้างความท้าทายในการค้นหาสภาพความยกลำบากหรือสภาพปัญหาและแคนทรัคคิ (Canterucci, 2000, p.2) กล่าวว่าความกระตือรือร้นจะเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างนิสัยที่จะทำให้บุคคลได้มีการคิดอย่างลึกซึ้งและช่วยเหลือบุคคลในการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นสำหรับเทคนิคที่ช่วยในการสร้างความกระตือรือร้นมีทั้งหมด 6 เทคนิคซึ่งจะมีความเหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ดังนี้
1.1 การสังเกตโดยใช้การดูและการฟังอย่างใกล้ชิด เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เพื่อเก็บรวบรวมรายละเอียดที่โดยปกติจะไม่พบ
1.2 การมองหาข้อบกพร่อง การมีความรู้สึกว่ายังมี ข้อบกพร่องจะช่วยให้เกิดความสำเร็จโดยการที่คนมีการยอมรับความคิด ระบบ กระบวนการแนวคิดและเครื่องมือ ต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ถูกกระทำขึ้นย่อมมีข้อบกพร่อง จึงเปิดโอกาสให้มีการปรับปรุง
1.3 การบันทึกสิ่งที่ไม่พอใจของตนเองและบุคคลอื่นในแต่ละวันที่สามารถจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สำหรับตัวเองได้
1.4 การค้นหาสาเหตุของสิ่งต่าง ๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างความตื่นตัวต่อสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่บุคคลไม่สามารถอธิบายสิ่งที่ไม่พึงพอใจนั้น
1.5 ความไวต่อการรับรู้ความหมายของสถานการณ์ นักคิดที่ดีมักจะมองเห็นและเข้าใจผลกระทบของสิ่งต่าง ๆ ก่อนบุคคลอื่น
1.6 การเข้าใจและยอมรับโอกาสในการสำรวจข้อโต้แย้งประเด็นการโต้แย้งเป็นเรื่องราวที่บุคคลไม่เห็นด้วย เนื่องจากข้อมูลที่สนับสนุนเรื่องนั้นเปลี่ยนแปลงไป
แคนเทรัคคิ (Canterucci, 2000, p.2) ได้เสนอแนวทางการพัฒนาความกระตือรือร้น แนวทางหนึ่งคือการค้นหาทางเลือกที่หลายหลายในการแก้ปัญหา การประยุกต์ใช้ความกระตือรือร้น นอกจากนี้จากแนวคิดของรักไกโร (Ruggiero, 1988, p.130) พบว่าความกระตือรือร้น จะช่วยเพิ่มความตระหนักต่อปัญหาและประเด็นต่าง ๆ โดยจะช่วยเพิ่มความรู้สึกไม่พึงพอใจและความไม่สบายใจซึ่งจะทำให้เกิดความท้าทาย และโอกาสในการศึกษาปัญหานั้น นอกจากนั้นยังช่วยส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดไตรีตรองเมืองมีสิ่งผิดพลาดเกิดขึ้นตัวบุคคลต้องการตรวจสอบ โดยใช้การคิดจากมุมมองที่หลายหลาย เพื่อเปลี่ยนแปลงแนวคิดเดิม ความกระตือรือร้นก็จะเกิดขึ้นโดยมีการวิเคราะห์วิจารณ์ และการตั้งประเด็นคำถาม นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มโอกาสในการค้นหาข้อบกพร่องต่างๆ ด้วย
สรุปได้ว่าการสร้างเสริมความกระตือรือร้นประกอบด้วย การสังเกต การมองหาข้อบกพร่อง การบันทึกสิ่งที่ไม่พึงพอใจของตนเองและบุคคลอื่น การค้าหาสาเหตุ ความไวต่อการับรู้ความหมายของสถานการณ์ รวมทั้งการสร้างความเข้าใจในการยอมรับโอกาสในการสำรวจข้อโต้แย้ง
2. ความคิดเห็นที่เกิดขึ้นเอง
ดิวอี้ (Dewey, 1933: 40) ให้แนวคิดว่า ความคิดเห็นที่เกิดขึ้นครั้งแรกและเกิดขึ้นเองโดยบุคคลนั้นมักเกิดขึ้นจากประสบการณ์ โดยทำให้บุคคลมองสิ่งต่าง ๆ ได้ไม่เหมือนกันและความคิดเห็นประกอบด้วย 3 มิติ ดังนี้
2.1 การคิดคล่องหรือคิดเร็ว
ทิศนา แขมมณี (2540, หน้า55) ได้เสนอแนวทางการพัฒนาการคิดคล่องดังนี้
จุดมุ่งหมาย เพื่อให้ได้ความคิดจำนวนมากและคิดได้อย่างรวดเร็ว
วิธีคิด
(1) คิดเกี่ยวกับเรื่องที่คิด ให้ได้จำนวนมากและอย่างรวดเร็ว
(2) จัดหมวดหมู่ของความคิด
เกณฑ์ความสามารถในการคิดคล่อง
(1) ความสามารถบอกความคิดได้จำนวนมาก
(2) สามารถบอกความคิดได้จำนวนมากและในเวลาที่รวดเร็ว
(3) สามารถจัดหมวดหมู่ของความคิดได้
นอกจากนี้ อารี พันธ์มณี (2540, หน้า36-37) ได้ให้แนวคิดว่าความคล่องแคล่วในการคิดคล่อง นับว่าเป็นความสามารถอันดับแรกในการที่จะพยายามเลือกเฟ้นให้ได้ ความคิดที่ดีและเหมาะสมที่สุด ก่อนอื่นจึงจำเป็นต้องคิด คิดออกมาให้ได้มาก แล้วจึงนำความคิดที่ได้ทั้งหมดมาพิจารณาแต่ละอย่าง เปรียบเทียบกันว่าความคิดอื่นใดจะเป็นความคิดที่ดีที่สุด และให้ประโยชน์ คุ้มค่าที่สุด โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ในการพิจารณา เช่น ประโยชน์ที่ใช้ เวลา การลงทุน ความยากง่ายและบุคลากร เป็นต้น



2.2 การคิดหลากหลาย
ทิศนา แขมมณี (2540, หน้า55) ได้เสนอแนวทางการพัฒนาการคิดหลากหลาย ดังนี้
จุดมุ่งหมาย เพื่อให้ได้ความคิดที่มีลักษณะหรือรูปแบบต่าง ๆ กัน
วิธีคิด
(1) คิดเกี่ยวกับเรื่องที่คิดให้ได้รูปแบบ/ลักษณะ/ประเภทที่หลากหลายแตกต่างกัน
(2) จัดหมวดหมู่ของความคิด
เกณฑ์ความสามารถในการคิดหลากหลาย
(1) สามารถใช้ความคิดที่มีลักษณะ/รูปแบบ/ประเภทที่หลากหลาย
(2) สามารถจัดหมวดหมู่ของความคิดได้
2.3 การคิดลึกซึ้ง
ทิศนา แขมมณี (2540 หน้า 55) ได้เสนอแนวทางการพัฒนาการคิดลึกซึ้ง ดังนี้
จุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง โดยเข้าใจถึงความซับซ้อนของโครงสร้างและระบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุในโครงสร้างนั้น รวมทั้งความหมายหรือคุณค่าของสิ่งที่คิด
วิธีคิด
(1) วิเคราะห์ให้เห็นองค์ประกอบหลัก และองค์ประกอบย่อยที่โยงใยและสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน จนประกอบกันเป็นโครงสร้างหรือภาพรวมของสิ่งนั้น
(2) วิเคราะห์ให้เข้าใจถึงระบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่อยู่ภายใน
(3) วิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาหรือความหมายจริงของสิ่งที่คิดได้
เกณฑ์ความสามารถในการคิดลึกซึ้ง
(1) สามารถอธิบายโครงสร้างและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ
(2) สามารถอธิบายระบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่อยู่ภายในโครงสร้าง
(3) สามารถบอกถึงสาเหตุของปัญหาหรือความหมายหรือคุณค่าที่แท้จริงของสิ่งที่คิดได้
ไมเออร์ และคณะ (Meier and colleagues, 2003, p.1) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนานิสัยในการคิดลึกซึ้ง โดยใช้การตั้งประเด็นคำถามและการให้เวลาที่เพียงพอในการอภิปรายกลุ่ม จะช่วยกระตุ้นให้บุคคลได้มีการคิดลึกซึ้งได้
3. การจัดการลำดับการคิด
ดิวอี้ (Dewey, 1933, pp.39, 41) ให้แนวคิดว่ากระบวนการคิดจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการนำความคิดเห็นมาจัดเป็นระบบโดยยึดข้อเท็จจริงที่นำมาพิสูจน์และมีการพิจารณาร่วมกับบุคคลอื่น การพัฒนาลักษณะนิสัยในการจัดลำดับการคิดเป็นวิธีการทางอ้อม โดยการจัดลำดับการคิดจะกระทำผ่านการจัดลำดับของกิจกรรม ทิศนา แขมมณี (2540, หน้า 45) ได้ให้ความหมายและทักษะย่อยของการจัดระบบความคิด ดังนี้
3.1 การพิจารณาทบทวนข้อมูลที่มีทั้งหมดอย่างละเอียด เพื่อระบุความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลแต่ละอย่าง
3.2 การนำลักษณะความสัมพันธ์ของข้อมูลที่พบมากำหนดเป็นมิติ หรือ แง่มุมในการจัดกลุ่มข้อมูลเป็นความเป็นเหตุเป็นผล เป็นต้น
3.3 การจัดข้อมูลทั้งหมดเป็นกลุ่มตามมิติหรือแง่มุมที่กำหนดไว้เช่น “จิงโจ้ หมี ลิง” อยู่ในมิติ “สัตว์บก” ส่วน “ปลา กุ้ง หอย” อยู่ในมิติ “สัตว์น้ำ” เป็นต้น
3.4 การระบุความสัมพันธ์ระหว่างมิติ หรือแง่มุมแต่ละคู่ เช่น “สัตว์บก” และ “สัตว์น้ำ” มีความสัมพันธ์กันในฐานะเป็นสมาชิกของมิติใหญ่ คือ “สัตว์” เหมือนกัน
3.5 การประมวลความสัมพันธ์ย่อย ๆ ของมิติหรือแง่มุมต่าง ๆ ครบทุกเรื่อง เช่น ข้อมูลที่ได้มาใหม่นี้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ 3 ประเภท คือ สัตว์บก ได้แก่ จิงโจ้ หมี ลิง สัตว์น้ำ ได้แก่ ปลา กุ้ง หอย และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ได้แก่ กบ คางคก กล่าวโดยสรุปลักษณะการคิดตามมิติต่าง ๆ และการจัดลำดับการคิด ได้แก่ การมีจำนวนความคิดเห็นที่มากแตกต่างกันของบุคคล สามารถบอกถึงสาเหตุของปัญหาหรือความหมายของสิ่งที่คิด ความคิดเห็นมีความเกี่ยวข้องกับประเด็นที่สำคัญและจุดมุ่งหมายในการคิด ตลอดจนมีการอ้างถึงข้อเท็จจริงที่นำมาพิสูจน์หรือเป็นเหตุผล

ไม่มีความคิดเห็น: